ทะเบียนชื่อบุคคล

Details

pink ทะเบียนชื่อบุคคล
การขอเปลี่ยนชื่อตัว (ช.3)

หลักเกณฑ์การเปลี่ยนชื่อตัว

  1. ต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย พระนามของพระราชินี หรือราชทินนาม
  2. ไม่มีคำหรือความหมายหยาบคาย
  3. ต้องเป็นคำหรือพยางค์เดียวกัน จะเว้นวรรคไม่ได้
  4. ห้ามมิให้ระบุชื่อตัว ร่วมกับหรือประกอบกับคำเชื่อมอักษร สัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายใด ๆ ที่มิได้กำหนดไว้ในกฎหมาย ระเบียบ และหนังสือสั่งการเกี่ยวกับทะเบียนชื่อบุคคล
  5. ต้องมีความหมายหรือคำแปลที่กำหนดในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หรือพจนานุกรมฉบับอื่น
  6. ใช้ตัวสะกดตัวการันต์ถูกต้องตามหลักภาษาไทย
  7. ไม่ขัดต่อขนบธรรมเนียมประเพณี และความสงบเรียบร้อยของสังคม
  8. ไม่มีเจตนาทุจริต

ขั้นตอน/วิธีการ

  1. ผู้มีสัญชาติไทย ที่ประสงค์จะขอเปลี่ยนชื่อตัว ให้ยื่นคำขอตามแบบ ช.1 ต่อนายทะเบียนท้องที่ ณ สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
  2. ให้นายทะเบียนท้องที่ดำเนินการ ดังนี้
    2.1 เรียกตรวจบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ
    2.2 ตรวจสอบคำขอกับรายการทะเบียนบ้านในฐานข้อมูลการทะเบียนราษฎร
    2.3 ตรวจสอบชื่อตัวที่ขอเปลี่ยน ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
  3. เมื่อนายทะเบียนท้องที่เห็นว่าถูกต้องให้ดำเนินการ ดังนี้
    3.1 สั่งอนุญาตในคำขอ
    3.2 บันทึกในทะเบียนชื่อตัว (ช.3/1)
    3.3 ออกหนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อตัว (ช.3)
    3.4 เรียกเก็บค่าธรรมเนียม 50 บาท

เอกสารประกอบการยื่นคำขอ

  • บัตรประจำตัวประชาชน

**************************************

การขอตั้งหรือเปลี่ยนชื่อรอง (ช.3)

หลักเกณฑ์การตั้งหรือเปลี่ยนชื่อรอง

  1. ต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย พระนามของพระราชินี หรือราชทินนาม
  2. ไม่มีคำหรือความหมายหยาบคาย
  3. ต้องไม่พ้องกับชื่อสกุลของบุคคลอื่น เว้นแต่กรณี
    3.1 คู่สมรสใช้ชื่อสกุลของอีกฝ่ายหนึ่งเป็นชื่อรอง เมื่อได้รับความยินยอมจากฝ่ายนั้นแล้ว
    3.2 บุตรใช้ชื่อสกุลเดิมของมารดาหรือบิดาเป็นชื่อรองของตน
  4. ต้องเป็นคำหรือพยางค์เดียวกัน จะเว้นวรรคไม่ได้
  5. ห้ามมิให้ระบุชื่อรอง ร่วมกับหรือประกอบกับคำเชื่อมอักษร สัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายใด ๆ ที่มิได้กำหนดไว้ในกฎหมาย ระเบียบ และหนังสือสั่งการเกี่ยวกับทะเบียนชื่อบุคคล
  6. ต้องมีความหมายหรือคำแปลที่กำหนดในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หรือพจนานุกรมฉบับอื่น
  7. ใช้ตัวสะกดตัวการันต์ถูกต้องตามหลักภาษาไทย
  8. ไม่ขัดต่อขนบธรรมเนียมประเพณี และความสงบเรียบร้อยของสังคม
  9. ไม่มีเจตนาทุจริต

ขั้นตอน/วิธีการ

  1. ผู้มีสัญชาติไทย ที่ประสงค์จะตั้งหรือเปลี่ยนชื่อรอง ให้ยื่นคำขอตามแบบ ช.1 ต่อนายทะเบียนท้องที่ ณ สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
  2. ให้นายทะเบียนท้องที่ดำเนินการ ดังนี้
    2.1 เรียกตรวจบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ
    2.2 ตรวจสอบคำขอกับรายการทะเบียนบ้านในฐานข้อมูลการทะเบียนราษฎร
    2.3 ตรวจสอบชื่อรองที่ขอเปลี่ยน ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
  3. เมื่อนายทะเบียนท้องที่เห็นว่าถูกต้องให้ดำเนินการ ดังนี้
    3.1 สั่งอนุญาตในคำขอ
    3.2 บันทึกในทะเบียนชื่อรอง (ช.3/1)
    3.3 ออกหนังสือสำคัญแสดงการตั้งหรือเปลี่ยนชื่อรอง (ช.3)
    3.4 เรียกเก็บค่าธรรมเนียม 50 บาท สำหรับการเปลี่ยนชื่อรอง ส่วนการตั้งชื่อรองไม่เสียค่าธรรมเนียม

 

เอกสารประกอบการยื่นคำขอ

  • บัตรประจำตัวประชาชน

**************************************

การขอจดทะเบียนตั้งชื่อสกุลหรือขอตั้งชื่อสกุลใหม่ (ช.2)

หลักเกณฑ์การขอจดทะเบียนตั้งชื่อสกุลหรือขอตั้งชื่อสกุลใหม่

  1. ต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย หรือพระนามของพระราชินี
  2. ต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับราชทินนาม เว้นแต่ ราชทินนามของตน ของผู้บุพการี หรือ ของผู้สืบสันดาน
  3. ไม่ซ้ำกับชื่อสกุลที่ได้รับพระราชทานจากพระมหากษัตริย์ หรือชื่อสกุลที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว
  4. ไม่ซ้ำกับชื่อสกุลในฐานข้อมูลทะเบียนชื่อบุคคล และฐานข้อมูลการทะเบียนราษฎร
  5. ไม่มีคำหรือความหมายหยาบคาย
  6. มีพยัญชนะไม่เกินสิบพยัญชนะ เว้นแต่ กรณีใช้ราชทินนามเป็นชื่อสกุล
  7. ไม่ต้องห้ามตามประกาศ ดังนี้
    1. ประกาศห้ามมิให้ผู้ที่ไม่ได้รับพระราชทานนามสกุลใช้ “ณ” นำหน้านามสกุล ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2458
    2. ประกาศเพิ่มเครื่องหมายนามสกุลสำหรับราชตระกูล ลงวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2458
    3. ประกาศแก้เครื่องหมายนามสกุลสำหรับราชสกุล ลงวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2467
    4. ประกาศห้ามมิให้เอานามพระมหานคร และไม่ให้เอาศัพท์ที่ใช้เป็นพระบรมนามาภิไธย มาใช้เป็นนามสกุล ลงวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2458
    5. ประกาศห้ามไม่ให้เอานามพระมหานคร มาประกอบกับศัพท์อื่นใช้เป็นนามสกุล ลงวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2459
  8. ต้องเป็นคำหรือพยางค์เดียวกัน จะเว้นวรรคไม่ได้
  9. ห้ามมิให้ระบุชื่อสกุล ร่วมกับหรือประกอบกับคำเชื่อมอักษร สัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายใด ๆ ที่มิได้กำหนดไว้ในกฎหมาย ระเบียบ และหนังสือสั่งการเกี่ยวกับทะเบียนชื่อบุคคล
  10. ต้องมีความหมายหรือคำแปลที่กำหนดในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หรือพจนานุกรมฉบับอื่น
  11. ใช้ตัวสะกดตัวการันต์ถูกต้องตามหลักภาษาไทย
  12. ไม่ขัดต่อขนบธรรมเนียมประเพณี และความสงบเรียบร้อยของสังคม
  13. ไม่มีเจตนาทุจริต

ขั้นตอน/วิธีการ

  1. ผู้มีสัญชาติไทย ที่ประสงค์จะขอจดทะเบียนตั้งชื่อสกุลหรือขอตั้งชื่อสกุลใหม่ ให้ยื่นคำขอตามแบบ ช.1 ต่อนายทะเบียนท้องที่ ณ สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
  2. ให้นายทะเบียนท้องที่ดำเนินการ ดังนี้
    1. เรียกตรวจบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ
    2. ตรวจสอบคำขอกับรายการทะเบียนบ้านในฐานข้อมูลการทะเบียนราษฎร
    3. ตรวจสอบชื่อสกุล ที่ขอจดทะเบียนตั้งชื่อสกุลหรือขอตั้งชื่อสกุลใหม่ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
  3. เมื่อนายทะเบียนท้องที่เห็นว่าถูกต้องให้ดำเนินการ ดังนี้
    1. สั่งอนุญาตในคำขอ
    2. บันทึกในทะเบียนชื่อสกุล (ช.2/1)
    3. ออกหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนชื่อสกุล (ช.2)
    4. เรียกเก็บค่าธรรมเนียม 100 บาท
  4. สำหรับกรณีผู้ขอจดทะเบียนตั้งชื่อสกุลใหม่ เคยมีการจดทะเบียนตั้งชื่อสกุลไว้ ให้ดำเนินการดังนี้
    1. ให้นายทะเบียนท้องที่ แจ้งผู้ยื่นคำขอให้แจ้งผู้ที่ใช้ชื่อสกุลหรือร่วมใช้ชื่อสกุลทั้งหมดให้เปลี่ยนกลับไปใช้ชื่อสกุลเดิม ตามหลักฐานการเปลี่ยนชื่อสกุลที่มีการแก้ไขไว้ หรือร่วมใช้ชื่อสกุลที่เคยมีการจดทะเบียนไว้ จากนั้นจึงให้ยื่นคำขอจำหน่ายชื่อสกุลดังกล่าว
    2. แต่หากมีผู้ใช้ชื่อสกุลหรือร่วมใช้ชื่อสกุลประสงค์จะใช้ชื่อสกุลนั้นต่อไป ก็ให้ยื่นคำขอ จำหน่ายสิทธิการเป็นเจ้าของชื่อสกุล
    3. เมื่อนายทะเบียนท้องที่เห็นว่าถูกต้อง ให้ดำเนินการตามข้อ 3 และเรียกหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนชื่อสกุล (ช.2) ฉบับเดิมคืน หากสูญหายให้เรียกหลักฐานการแจ้งความเอกสารสูญหายแทน
  5. สำหรับกรณีผู้ขอจดทะเบียนตั้งชื่อสกุลใหม่ เคยมีการร่วมชื่อสกุลไว้ ให้ดำเนินการดังนี้
    1. ให้นายทะเบียนท้องที่ แจ้งผู้ยื่นคำขอให้แจ้งผู้ที่ใช้ชื่อสกุลตามทั้งหมดให้เปลี่ยยกลับไปใช้ชื่อสกุลเดิม ตามหลักฐานการเปลี่ยนชื่อสกุลที่มีการแก้ไขไว้ จากนั้นจึงให้ยื่นคำขอจำหน่ายการร่วมใช้ชื่อสกุล
    2. เมื่อนายทะเบียนท้องที่เห็นว่าถูกต้อง ให้ดำเนินการตามข้อ 3 และเรียกหนังสือสำคัญแสดงการร่วมใช้ชื่อสกุล (ช.4) คืน หากสูญหายให้เรียกหลักฐานการแจ้งความเอกสารสูญหายแทน

เอกสารประกอบการยื่นคำขอ

  1. บัตรประจำตัวประชาชน
  2. หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนชื่อสกุล (ช.2) ฉบับเดิม หรือหลักฐานการแจ้งความเอกสารสูญหาย กรณีผู้ยื่นคำขอเคยจดทะเบียนตั้งชื่อสกุลไว้
  3. หนังสือสำคัญแสดงการร่วมใช้ชื่อสกุล (ช.4) หากสูญหายให้เรียกหลักฐานการแจ้งความ เอกสารสูญหายแทน กรณีผู้ยื่นคำขอเคยร่วมใช้ชื่อสกุลไว้

**************************************

การอนุญาตให้ผู้อื่นร่วมใช้ชื่อสกุล กรณี เจ้าของชื่อสกุลมีชีวิต (ช.6)

หลักเกณฑ์การอนุญาตให้ผู้อื่นร่วมใช้ชื่อสกุล กรณีเจ้าของชื่อสกุลมีชีวิต

  • ผู้จดทะเบียนตั้งชื่อสกุล จะอนุญาตให้ผู้มีสัญชาติไทยผู้ใดร่วมใช้ชื่อสกุลของตนก็ได้

ขั้นตอน/วิธีการ

  1. ให้เจ้าของชื่อสกุล ที่ได้จดทะเบียนตั้งชื่อสกุลหรือตั้งชื่อสกุลใหม่ไว้แล้ว ยื่นคำขอตามแบบ ช.1 พร้อมหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนชื่อสกุลตามแบบ ช.2 ของตน ต่อนายทะเบียนท้องที่ ณ สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
  2. เมื่อนายทะเบียนท้องที่ได้รับคำขอและหลักฐานตามข้อ 1 แล้วให้ดำเนินการ ดังนี้
    1. ตรวจบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ
    2. ตรวจสอบคำขอของผู้ยื่นคำขอและผู้ขอร่วมใช้ชื่อสกุล กับรายการทะเบียนบ้านในฐานข้อมูลการทะเบียนราษฎร
    3. ตรวจสอบหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนชื่อสกุลตามแบบ ช.2
  3. เมื่อนายทะเบียนท้องที่เห็นว่าถูกต้องให้ดำเนินการ ดังนี้
    1. สั่งอนุญาตในคำขอ
    2. บันทึกในทะเบียนอนุญาตให้ร่วมใช้ชื่อสกุล (ช.6/1)
    3. ออกหนังสืออนุญาตให้ร่วมใช้ชื่อสกุล (ช.6) ให้แก่เจ้าของชื่อสกุล เพื่อนำไปมอบให้แก่ผู้ที่จะขอร่วมใช้ชื่อสกุล

เอกสารประกอบการยื่นคำขอ

  1. บัตรประจำตัวประชาชน
  2. หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนชื่อสกุล (ช.2)

**************************************

การอนุญาตให้ผู้อื่นร่วมใช้ชื่อสกุล

กรณี เจ้าของชื่อสกุลตายหรือศาลมีคำสั่งถึงที่สุดว่าเป็นผู้สาบสูญ (ช.7 และ ช.6)

หลักเกณฑ์การอนุญาตให้ผู้อื่นร่วมใช้ชื่อสกุล กรณีเจ้าของชื่อสกุลตายหรือศาลมีคำสั่งถึงที่สุดว่าเป็นผู้สาบสูญ

  • ผู้สืบสันดานที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้จดทะเบียนตั้งชื่อสกุล ในลำดับที่ใกล้ชิดที่สุด ซึ่งยังมีชีวิตอยู่และใช้ชื่อสกุลนั้น จะอนุญาตให้ผู้มีสัญชาติไทยผู้ใดร่วมใช้ชื่อสกุลของตนก็ได้

ขั้นตอน/วิธีการ

  1. ให้ผู้สืบสันดานที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้จดทะเบียนตั้งชื่อสกุล ในลำดับที่ใกล้ชิดที่สุด ซึ่งยังมีชีวิตอยู่และใช้ชื่อสกุลนั้น ยื่นคำขอตามแบบ ช.1 ต่อนายทะเบียนท้องที่ ณ สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน พร้อมด้วยหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนชื่อสกุลตามแบบ ช.2 ของเจ้าของชื่อสกุล และหลักฐานทางราชการที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าตนเป็นผู้มีสิทธิอนุญาตให้ผู้อื่นร่วมใช้ชื่อสกุลได้ เช่น ทะเบียนสมรส (ของบิดามารดา) ทะเบียนรับรองบุตร หรือคำพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นบุตร
  2. เมื่อนายทะเบียนท้องที่เห็นว่าถูกต้องให้ดำเนินการ ดังนี้
    1. สั่งอนุญาตในคำขอ
    2. บันทึกในทะเบียนรับรองเป็นผู้มีสิทธิอนุญาตให้ผู้อื่นร่วมใช้ชื่อสกุล (ช.7/1)
    3. ออกหนังสือรับรองเป็นผู้มีสิทธิอนุญาตให้ผู้อื่นร่วมใช้ชื่อสกุล (ช.7) ให้แก่ผู้ยื่นคำขอ
  3. ให้ผู้มีสิทธิอนุญาตให้ผู้อื่นร่วมใช้ชื่อสกุล ยื่นคำขอตามแบบ ช.1 พร้อมหนังสือรับรองเป็นผู้มีสิทธิอนุญาตให้ผู้อื่นร่วมใช้ชื่อสกุล (ช.7) ต่อนายทะเบียนท้องที่ ณ สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
  4. เมื่อนายทะเบียนท้องที่ได้รับคำขอและหลักฐานตามข้อ 3 แล้วเห็นว่าถูกต้องให้ดำเนินการ ดังนี้
    1. เรียกตรวจบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ
    2. ตรวจสอบคำขอของผู้ยื่นคำขอและผู้ขอร่วมใช้ชื่อสกุล กับรายการทะเบียนบ้านในฐานข้อมูลการทะเบียนราษฎร
  5. เมื่อนายทะเบียนท้องที่เห็นว่าถูกต้องให้ดำเนินการ ดังนี้
    1. สั่งอนุญาตในคำขอ
    2. บันทึกในทะเบียนอนุญาตให้ร่วมใช้ชื่อสกุล (ช.6/1)
    3. ออกหนังสืออนุญาตให้ร่วมใช้ชื่อสกุล (ช.6) ให้แก่ผู้มีสิทธิอนุญาตให้ผู้อื่นร่วมใช้ชื่อสกุล เพื่อนำไปมอบให้แก่ผู้ที่จะขอร่วมใช้ชื่อสกุล

เอกสารประกอบการยื่นคำขอ

  1. การขอหนังสือรับรองเป็นผู้มีสิทธิอนุญาตให้ผู้อื่นร่วมใช้ชื่อสกุล (ช.7)
    1. บัตรประจำตัวประชาชน
    2. หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนชื่อสกุล (ช.2) ของเจ้าของชื่อสกุล
    3. หลักฐานทางราชการที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าตนเป็นผู้มีสิทธิอนุญาตให้ผู้อื่นร่วมใช้ชื่อสกุลได้ เช่น ทะเบียนสมรส (ของบิดามารดา) ทะเบียนรับรองบุตร หรือคำพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นบุตร
  2. การขอหนังสืออนุญาตให้ร่วมใช้ชื่อสกุล (ช.6)
    1. บัตรประจำตัวประชาชน
    2. หนังสือรับรองเป็นผู้มีสิทธิอนุญาตให้ผู้อื่นร่วมใช้ชื่อสกุล (ช.7)

**************************************

การขอร่วมใช้ชื่อสกุล (ช.4)
หลักเกณฑ์การขอร่วมใช้ชื่อสกุล

  • ผู้ขอร่วมใช้ชื่อสกุลที่ได้รับหนังสืออนุญาตให้ร่วมใช้ชื่อสกุล (ช.6) จากเจ้าของชื่อสกุล กรณีเจ้าของชื่อสกุลมีชีวิต หรือจากผู้มีสิทธิอนุญาตให้ผู้อื่นร่วมใช้ชื่อสกุล กรณีเจ้าของชื่อสกุลตายหรือศาลมีคำสั่งถึงที่สุดว่าเป็นผู้สาบสูญ

ขั้นตอน/วิธีการ

  1. ให้ผู้ขอร่วมใช้ชื่อสกุล ยื่นคำขอตามแบบ ช.1 ต่อนายทะเบียนท้องที่ ณ สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน พร้อมหนังสืออนุญาตให้ร่วมใช้ชื่อสกุลตามแบบ ช.6
  2. เมื่อนายทะเบียนท้องที่ได้รับคำขอและหลักฐานตามข้อ 1 แล้วให้ดำเนินการ ดังนี้
    1. เรียกตรวจบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ
    2. ตรวจสอบคำขอ กับรายการทะเบียนบ้านในฐานข้อมูลการทะเบียนราษฎร
    3. ตรวจสอบหนังสืออนุญาตให้ร่วมใช้ชื่อสกุลตามแบบ ช.6
  3. เมื่อนายทะเบียนท้องที่เห็นว่าถูกต้องให้ดำเนินการ ดังนี้
    1. สั่งอนุญาตในคำขอ
    2. บันทึกในทะเบียนร่วมใช้ชื่อสกุล (ช.4/1)
    3. ออกหนังสือสำคัญแสดงการร่วมใช้ชื่อสกุล (ช.4)
    4. เรียกเก็บค่าธรรมเนียม 100 บาท
  4. สำหรับกรณีผู้ขอร่วมใช้ชื่อสกุล เคยมีการร่วมชื่อสกุลไว้ ให้ดำเนินการดังนี้
    1. ให้นายทะเบียนท้องที่ แจ้งผู้ยื่นคำขอให้แจ้งผู้ที่ใช้ชื่อสกุลตามทั้งหมดให้เปลี่ยนกลับไปใช้ ชื่อสกุลเดิม ตามหลักฐานการเปลี่ยนชื่อสกุลที่มีการแก้ไขไว้ จากนั้นจึงให้ยื่นคำขอจำหน่ายการร่วมใช้ชื่อสกุล
    2. เมื่อนายทะเบียนท้องที่เห็นว่าถูกต้อง ให้ดำเนินการตามข้อ 3 และเรียกหนังสือสำคัญแสดงการร่วมใช้ชื่อสกุล (ช.4) ฉบับเดิมคืน หากสูญหายให้เรียกหลักฐานการแจ้งความเอกสารสูญหายแทน

เอกสารประกอบการยื่นคำขอ

  1. บัตรประจำตัวประชาชน
  2. หนังสืออนุญาตให้ร่วมใช้ชื่อสกุล (ช.6)
  3. หนังสือสำคัญแสดงการร่วมใช้ชื่อสกุล (ช.4) ฉบับเดิม หากสูญหายให้เรียกหลักฐานการแจ้งความ เอกสารสูญหายแทน กรณีผู้ยื่นคำขอเคยร่วมใช้ชื่อสกุลไว้

**************************************

การเปลี่ยนชื่อสกุล (ช.5) กรณี การสมรส และกรณี กลับมาใช้ชื่อสกุลเดิมของตน

หลักเกณฑ์การเปลี่ยนชื่อสกุลกรณีการสมรส และกรณีกลับมาใช้ชื่อสกุลเดิมของตน

  1. คู่สมรส มีสิทธิใช้ชื่อสกุลของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตามที่ตกลงกัน หรือต่างฝ่ายต่างใช้ชื่อสกุลเดิมของตน
  2. การตกลงตามข้อ 1 จะกระทำเมื่อมีการสมรสหรือในระหว่างสมรสก็ได้ และจะตกลงเปลี่ยนแปลงในภายหลังก็ได้

ขั้นตอน/วิธีการ

  1. ให้คู่สมรสที่ประสงค์จะใช้ชื่อสกุลของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง หรือคู่สมรสฝ่ายที่จะกลับมาใช้ชื่อสกุลเดิมของตน ยื่นคำขอตามแบบ ช.1 ต่อนายทะเบียนท้องที่ ณ สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
  2. ให้นายทะเบียนท้องที่ดำเนินการ ดังนี้
    1. เรียกตรวจบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ
    2. เรียกตรวจหลักฐานการสมรส
    3. เรียกบันทึกข้อตกลงตามเงื่อนไขการสมรส กรณีใช้ชื่อสกุลของอีกฝ่ายหนึ่ง หรือบันทึกเปลี่ยนแปลงข้อตกลงในการใช้ชื่อสกุล กรณีกลับมาใช้ชื่อสกุลเดิมของตน
    4. ตรวจสอบคำขอ กับรายการทะเบียนบ้านในฐานข้อมูลการทะเบียนราษฎร และฐานข้อมูลทะเบียนครอบครัว
  3. เมื่อนายทะเบียนท้องที่เห็นว่าถูกต้องให้ดำเนินการ ดังนี้
    1. สั่งอนุญาตในคำขอ
    2. บันทึกในทะเบียนเปลี่ยนชื่อสกุล (ช.5/1)
    3. ออกหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อสกุล (ช.5)
    4. กรณีกลับมาใช้ชื่อสกุลเดิมของตน เนื่องจากเปลี่ยนแปลงข้อตกลงในการใช้ชื่อสกุลภายหลังการสมรส ให้เรียก ช.5 ฉบับเดิมคืน หากสูญหายให้เรียกหลักฐานการแจ้งความเอกสารสูญหายแทน
    5. การเปลี่ยนชื่อสกุลครั้งแรกหลังจากการจดทะเบียนสมรส ไม่เสียค่าธรรมเนียม การเปลี่ยน ครั้งต่อ ๆ ไปเรียกเก็บค่าธรรมเนียม 50 บาท

เอกสารประกอบการยื่นคำขอ

  1. บัตรประจำตัวประชาชน
  2. หลักฐานการสมรส
  3. บันทึกข้อตกลงตามเงื่อนไขการสมรส กรณีใช้ชื่อสกุลของอีกฝ่ายหนึ่ง หรือบันทึกเปลี่ยงแปลงข้อตกลงในการใช้ชื่อสกุล กรณีกลับมาใช้ชื่อสกุลเดิมของตน
  4. หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อสกุล (ช.5) ฉบับเดิม หากสูญหายให้ใช้หลักฐาน การแจ้งความเอกสารสูญหายแทน

**************************************

การเปลี่ยนชื่อสกุล (ช.5) กรณี การสิ้นสุดการสมรส ด้วยการหย่า หรือศาลพิพากษาให้เพิกถอนการสมรส

หลักเกณฑ์การเปลี่ยนชื่อสกุลกรณีการสิ้นสุดการสมรส ด้วยการหย่า หรือศาลพิพากษาให้เพิกถอนการสมรส

  • เมื่อการสมรสสิ้นสุดลงด้วยการหย่า หรือศาลพิพากษาให้เพิกถอนการสมรส ให้ฝ่ายซึ่งใช้ชื่อสกุล ของอีกฝ่ายหนึ่งกลับไปใช้ชื่อสกุลเดิมของตน

ขั้นตอน/วิธีการ

  1. ให้คู่สมรสซึ่งใช้ชื่อสกุลของอีกฝ่ายหนึ่ง ยื่นคำขอตามแบบ ช.1 ต่อนายทะเบียนท้องที่ ณ สำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอ ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
  2. ให้นายทะเบียนท้องที่ดำเนินการ ดังนี้
    1. เรียกตรวจบัตรประจำตัวประชาชนขอผู้ยื่นคำขอ
    2. เรียกตรวจหลักฐานการสิ้นสุดการสมรส เช่น ใบสำคัญการหย่า หรือคำพิพากษาถึงที่สุดของศาล
    3. ตรวจสอบคำขอ กับรายการทะเบียนบ้านในฐานข้อมูลการทะเบียนราษฎร และฐานข้อมูลทะเบียนครอบครัว
  3. เมื่อนายทะเบียนท้องที่เห็นว่าถูกต้องให้ดำเนินการ ดังนี้
    1. สั่งอนุญาตในคำขอ
    2. บันทึกในทะเบียนเปลี่ยนชื่อสกุล (ช.5/1)
    3. ออกหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อสกุล (ช.5)
    4. เรียก ช.5 ฉบับเดิมคืน หากสูญหายให้เรียกหลักฐานการแจ้งความเอกสารสูญหายแทน
    5. ไม่เสียค่าธรรมเนียม

เอกสารประกอบการยื่นคำขอ

  1. บัตรประจำตัวประชาชน
  2. หลักฐานการสิ้นสุดการสมรส เช่น ใบสำคัญการหย่า หรือคำพิพากษาถึงที่สุดของศาล
  3. หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อสกุล (ช.5) ฉบับเดิม หากสูญหายให้ใช้หลักฐาน การแจ้งความเอกสารสูญหายแทน

**************************************

การเปลี่ยนชื่อสกุล (ช.5) กรณี การสิ้นสุดการสมรส ด้วยความตาย
หลักเกณฑ์การเปลี่ยนชื่อสกุลกรณีการสิ้นสุดการสมรส ด้วยความตาย

  • เมื่อการสมรสสิ้นสุดลงด้วยความตาย ให้ฝ่ายซึ่งยังมีชีวิตอยู่และใช้ชื่อสกุลของอีกฝ่ายหนึ่ง มีสิทธิใช้ชื่อสกุลนั้นได้ต่อไป แต่เมื่อจะสมรสใหม่ให้กลับไปใช้ชื่อสกุลเดิมของตน

ขั้นตอน/วิธีการ

  1. เมื่อคู่สมรสฝ่ายซึ่งยังมีชีวิตอยู่และใช้ชื่อสกุลของอีกฝ่ายหนึ่ง จะสมรสใหม่ ให้ยื่นคำขอตามแบบ ช.1 พร้อมหลักฐานการตายของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง ต่อนายทะเบียนท้องที่ ณ สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
  2. ให้นายทะเบียนท้องที่ดำเนินการ ดังนี้
    1. เรียกตรวจบัตรประจำตัวประชาชนขอผู้ยื่นคำขอ
    2. ตรวจสอบหลักฐานการตายของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง
    3. ตรวจสอบคำขอ กับรายการทะเบียนบ้านในฐานข้อมูลการทะเบียนราษฎร และฐานข้อมูลทะเบียนครอบครัว
  3. เมื่อนายทะเบียนท้องที่เห็นว่าถูกต้องให้ดำเนินการ ดังนี้
    1. สั่งอนุญาตในคำขอ
    2. บันทึกในทะเบียนเปลี่ยนชื่อสกุล (ช.5/1)
    3. ออกหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อสกุล (ช.5)
    4. เรียก ช.5 ฉบับเดิมคืน หากสูญหายให้เรียกหลักฐานการแจ้งความเอกสารสูญหายแทน
    5. ไม่เสียค่าธรรมเนียม

เอกสารประกอบการยื่นคำขอ

  1. บัตรประจำตัวประชาชน
  2. หลักฐานการตายของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง
  3. หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อสกุล (ช.5) ฉบับเดิม หากสูญหายให้ใช้หลักฐาน การแจ้งความเอกสารสูญหายแทน

**************************************

การเปลี่ยนชื่อสกุล (ช.5)

กรณี การรับรองบุตร การรับบุตรบุญธรรม การเลิกรับบุตรบุญธรรม การเปลี่ยนชื่อสกุลตามบิดา และการเปลี่ยนชื่อสกุลตามมารดา

หลักเกณฑ์การเปลี่ยนชื่อสกุลกรณี การรับรองบุตร การรับบุตรบุญธรรม การเลิกรับบุตรบุญธรรม การเปลี่ยนชื่อสกุลตามบิดา และการเปลี่ยนชื่อสกุลตามมารดา

  • ผู้มีสัญชาติไทย ที่ประสงค์จะเปลี่ยนชื่อสกุลด้วยเหตุการรับรองบุตร การรับบุตรบุญธรรม การเลิกรับ-บุตรบุญธรรม การเปลี่ยนชื่อสกุลตามบิดา หรือการเปลี่ยนชื่อสกุลตามมารดา

ขั้นตอน/วิธีการ

  1. ให้ผู้ที่ประสงค์จะเปลี่ยนชื่อสกุล ยื่นคำขอตามแบบ ช.1 ต่อนายทะเบียนท้องที่ ณ สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
  2. ให้นายทะเบียนท้องที่ดำเนินการ ดังนี้
    1. เรียกตรวจบัตรประจำตัวประชาชนขอผู้ยื่นคำขอ
    2. เรียกตรวจหลักฐานการขอเปลี่ยนชื่อสกุล เช่น หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนชื่อสกุล (ช.2) หนังสือสำคัญแสดงการร่วมใช้ชื่อสกุล (ช.4) หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อสกุล (ช.5) สำเนาทะเบียนรับรองบุตร (คร.11) สำเนาทะเบียนรับบุตรบุญธรรม (คร.14) สำเนาทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรม (คร.17) หรือหลักฐานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง แล้วแต่กรณี
    3. ตรวจสอบคำขอ กับรายการทะเบียนบ้านในฐานข้อมูลการทะเบียนราษฎร และฐานข้อมูลทะเบียนครอบครัว
    4. หากมีหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อสกุล (ช.5) ฉบับเดิมให้เรียกคืน หากสูญหายให้เรียกหลักฐานการแจ้งความเอกสารสูญหายแทน
  3. เมื่อนายทะเบียนท้องที่เห็นว่าถูกต้องให้ดำเนินการ ดังนี้
    1. สั่งอนุญาตในคำขอ
    2. บันทึกในทะเบียนเปลี่ยนชื่อสกุล (ช.5/1)
    3. ออกหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อสกุล (ช.5)
    4. เรียกเก็บค่าธรรมเนียม 100 บาท

เอกสารประกอบการยื่นคำขอ

  1. บัตรประจำตัวประชาชน
  2. หลักฐานการขอเปลี่ยนชื่อสกุล เช่น หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนชื่อสกุล (ช.2) หนังสือสำคัญแสดงการร่วมใช้ชื่อสกุล (ช.4) หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อสกุล (ช.5) สำเนาทะเบียนรับรองบุตร (คร.11) สำเนาทะเบียนรับบุตรบุญธรรม (คร.14) สำเนาทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรม (คร.17) หรือหลักฐานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง แล้วแต่กรณี
  3. หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อสกุล (ช.5) ฉบับเดิม (ถ้ามี) หากสูญหายให้ใช้หลักฐานการแจ้งความเอกสารสูญหายแทน

**************************************

การขอหนังสือรับรองการขอเปลี่ยนชื่อตัวของคนต่างด้าว (ช.8)

หลักเกณฑ์การขอหนังสือรับรองการขอเปลี่ยนชื่อตัวของคนต่างด้าว

  1. คนต่างด้าว ที่ประสงค์จะขอหลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว เพื่อประกอบการขอแปลงสัญชาติหรือขอกลับคืนสัญชาติไทย
  2. ชื่อตัวที่ขอเปลี่ยนต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
    1. ต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย พระนามของพระราชินี หรือราชทินนาม
    2. ไม่มีคำหรือความหมายหยาบคาย
    3. ต้องเป็นคำหรือพยางค์เดียวกัน จะเว้นวรรคไม่ได้
    4. ห้ามมิให้ระบุชื่อตัว ร่วมกับหรือประกอบกับคำเชื่อมอักษร สัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายใด ๆ ที่มิได้กำหนดไว้ในกฎหมาย ระเบียบ และหนังสือสั่งการเกี่ยวกับทะเบียนชื่อบุคคล
    5. ต้องมีความหมายหรือคำแปลที่กำหนดในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หรือ พจนานุกรมฉบับอื่น
    6. ใช้ตัวสะกดตัวการันต์ถูกต้องตามหลักภาษาไทย
    7. ไม่ขัดต่อขนบธรรมเนียมประเพณี และความสงบเรียบร้อยของสังคม
    8. ไม่มีเจตนาทุจริต

ขั้นตอน/วิธีการ

  1. ให้คนต่างด้าวที่ประสงค์จะขอหลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว ยื่นคำขอตามแบบ ช.1 ต่อนายทะเบียนท้องที่ ณ สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ ที่ตนมีชื่ออยู่ในหลักฐานตามที่ทางราชการกำหนด
  2. ให้นายทะเบียนท้องที่ดำเนินการ ดังนี้
    1. เรียกตรวจใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือหลักฐานเอกสารอื่นที่ทางราชการออกให้
    2. ตรวจสอบหลักฐานคำขอแปลงสัญชาติ หรือขอกลับคืนสััญชาติไทยและเหตุผล
    3. ตรวจสอบคำขอกับรายการทะเบียนบ้านในฐานข้อมูลการทะเบียนราษฎร
    4. ตรวจสอบชื่อตัวที่ขอเปลี่ยน ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
  3. เมื่อนายทะเบียนท้องที่เห็นว่าถูกต้องให้ดำเนินการ ดังนี้
    1. สั่งในคำขอโดยมีเงื่อนไขว่า อนุญาตต่อเมื่อได้รับการแปลงสัญชาติหรือกลับคืนสัญชาติไทย
    2. บันทึกในทะเบียนรับรองการขอเปลี่ยนชื่อตัวของคนต่างด้าว (ช.8/1)
    3. ออกหนังสือรับรองการขอเปลี่ยนชื่อตัวของคนต่างด้าว (ช.8)
    4. เรียกเก็บค่าธรรมเนียม 50 บาท

เอกสารประกอบการยื่นคำขอ

  1. การขอหนังสือรับรองการขอเปลี่ยนชื่อตัวของคนต่างด้าว (ช.8)
    1. ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือหลักฐานเอกสารอื่นที่ทางราชการออกให้
    2. คำขอแปลงสัญชาติ หรือขอกลับคืนสัญชาติไทย
  2. การขอเปลี่ยนชื่อตัว (ช.3)
    • หลักฐานการได้รับอนุญาตให้แปลงสัญชาติหรือกลับคืนสัญชาติไทย

**************************************

การขอหนังสือรับรองการขอจดทะเบียนชื่อสกุลของคนต่างด้าว (ช.9)

หลักเกณฑ์การขอหนังสือรับรองการขอจดทะเบียนชื่อสกุลของคนต่างด้าว

  1. คนต่างด้าว ที่ประสงค์จะขอหลักฐานการขอจดทะเบียนตั้งชื่อสกุล เพื่อประกอบการขอแปลงสัญชาติ หรือขอกลับคืนสัญชาติไทย
  2. ชื่อสกุลที่ขอจดทะเบียนต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
    1. ต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย หรือพระนามของพระราชินี
    2. ต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับราชทินนาม เว้นแต่ ราชทินนามของตน ของผู้บุพการี หรือของผู้สืบสันดาน
    3. ไม่ซ้ำกับชื่อสกุลที่ได้รับพระราชทานจากพระมหากษัตริย์ หรือชื่อสกุลที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว
    4. ไม่ซ้ำกับชื่อสกุลในฐานข้อมูลทะเบียนชื่อบุคคล และฐานข้อมูลการทะเบียนราษฎร
    5. ไม่มีคำหรือความหมายหยาบคาย
    6. มีพยัญชนะไม่เกินสิบพยัญชนะ เว้นแต่ กรณีใช้ราชทินนามเป็นชื่อสกุล
    7. ไม่ต้องห้ามตามประกาศ ดังนี้
      1. ประกาศห้ามมิให้ผู้ที่ไม่ได้รับพระราชทานนามสกุลใช้ “ณ” นำหน้านามสกุล ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2458
      2. ประกาศเพิ่มเครื่องหมายนามสกุลสำหรับราชตระกูล ลงวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2458
      3. ประกาศแก้เครื่องหมายนามสกุลสำหรับราชสกุล ลงวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2467
      4. ประกาศห้ามมิให้เอานามพระมหานคร และไม่ให้เอาศัพท์ที่ใช้เป็นพระบรมนามาภิไธยมาใช้เป็นนามสกุล ลงวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2458
      5. ประกาศห้ามไม่ให้เอานามพระมหานคร มาประกอบกับศัพท์อื่นใช้เป็นนามสกุล ลงวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2459
    8. ต้องเป็นคำหรือพยางค์เดียวกัน จะเว้นวรรคไม่ได้
    9. ห้ามมิให้ระบุชื่อสกุล ร่วมกับหรือประกอบกับคำเชื่อมอักษร สัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายใด ๆ ที่มิได้กำหนดไว้ในกฎหมาย ระเบียบ และหนังสือสั่งการเกี่ยวกับทะเบียนชื่อบุคคล
    10. ต้องมีความหมายหรือคำแปลที่กำหนดในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หรือพจนานุกรมฉบับอื่น
    11. ใช้ตัวสะกดตัวการันต์ถูกต้องตามหลักภาษาไทย
    12. ไม่ขัดต่อขนบธรรมเนียมประเพณี และความสงบเรียบร้อยของสังคม
    13. ไม่มีเจตนาทุจริต

ขั้นตอน/วิธีการ

  1. ให้คนต่างด้าวที่ประสงค์จะขอหลกฐานการขอจดทะเบียนตั้งชื่อสกุล ยื่นคำขอตามแบบ ช.1 ต่อนายทะเบียนท้องที่ ณ สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ ที่ตนมีชื่ออยู่ในหลักฐานตามที่ทางราชการกำหนด
  2. ให้นายทะเบียนท้องที่ดำเนินการ
    1. เรียกตรวจใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือหลักฐานเอกสารอื่นที่ทางราชการออกให้
    2. ตรวจสอบหลกฐานคำขอแปลงสัญชาติ หรือขอกลับคืนสัญชาติไทยและเหตุผล
    3. ตรวจสอบคำขอกับรายการทะเบียนบ้านในฐานข้อมูลการทะเบียนราษฎร
    4. ตรวจสอบชื่อสกุล ที่ขอจดทะเบียนตั้งชื่อสกุล ต้องเป็นไปตามหลกเณฑ์ที่กำหนด
  3. เมื่อนายทะเบียนท้องที่เห็นว่าถูกต้องให้ดำเนินการ
    1. สั่งในคำขอโดยมีเงื่อนไขว่า อนุญาตต่อเมื่อได้รับการแปลงสัญชาติหรือกลับคืนสัญชาติไทย
    2. บันทึกในทะเบียนรับรองการขอจดทะเบียนชื่อสกุลของคนต่างด้าว (ช.9/1)
    3. ออกหนังสือรับรองการขอจดทะเบียนชื่อสกุลของคนต่างด้าว (ช.9)
    4. เรียกเก็บค่าธรรมเนียม 100 บาท
  4. เมื่อคนต่างด้าวนั้นได้รับอนุญาตให้แปลงสัญชาติหรือกลับคืนสัญชาติไทยแล้ว ให้ยื่นคำขอตามแบบ ช.1 ต่อนายทะเบียนท้องที่อีกครั้งหนึ่ง พร้อมหลกฐานการได้รับอนุญาตให้แปลงสัญชาติหรือกลับคืนสััญชาติไทย
  5. เมื่อนายทะเบียนท้องที่เห็นว่าถูกต้องให้ดำเนินการ
    1. สั่งอนุญาตในคำขอ
    2. บันทึกในทะเบียนชื่อสกุล (ช.2/1)
    3. ออกหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนชื่อสกุล (ช.2)
    4. เรียกเก็บค่าธรรมเนียม 100 บาท

เอกสารประกอบการยื่นคำขอ

  1. การขอหนังสือรับรองการขอจดทะเบียนชื่อสกุลของคนต่างด้าว (ช.9)
    1. ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือหลักฐานเอกสารอื่นที่ทางราชการออกให้
    2. คำขอแปลงสัญชาติ หรือขอกลับคืนสัญชาติไทย
  2. การขอจดทะเบียนตั้งชื่อสกุล (ช.2)
    • หลักฐานการได้รับอนุญาตให้แปลงสัญชาติหรือกลับคืนสัญชาติไทย

**************************************

   
© by กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศการทะเบียน ส่วนบริหารและพัฒนาเทคโนโลยีการทะเบียน