การได้สัญชาติไทย

ตาม พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๕๐๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม

มาตรา ๗ ทวิ  (ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๕๓)

                ๑. ประเภทบุตรของบุคคลที่อพยพเข้ามาในประเทศไทยและอาศัยอยู่เป็นเวลานาน 

              กลุ่มที่มีเชื้อสายไทย

                                หลักเกณฑ์

                                ๑.๑ เป็นชนกลุ่มน้อย กลุ่ม

                                                ๑) ผู้อพยพเชื้อสายไทยจากจังหวัดเกาะกง ประเทศกัมพูชา ที่อพยพเข้ามาก่อนและหลัง ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๒๐ (๖-xxxx-๖๓xxx-xx-x, ๖-xxxx-๖๔xxx-xx-x)

                                                ๒) ผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่าเชื้อสายไทย ที่อพยพเข้ามาก่อนและหลัง ๙ มีนาคม ๒๕๑๙  (๖-xxxx-๖๖xxx-xx-x, ๖-xxxx-๖๗xxx-xx-x)

                                                ๓) ชาวลาวภูเขาอพยพ (๖-xxxx-๐๐xxx-xx-x)

                                ๑.๒ เกิดในประเทศไทย  มีหลักฐานการเกิด โดยมีชื่อในทะเบียนราษฎร์และทะเบียนประวัติ

                                ๑.๓ ได้รับการศึกษาตามหลักสูตรที่ทางราชการกำหนด หรือสามารถพูดและฟังภาษาไทยเข้าใจ (ยกเว้นเด็กอายุต่ำกว่า ๗ ปี)

                                ๑.๔ มีความประพฤติดี ไม่เคยได้รับโทษคดีอาญา ยกเว้นความผิดโดยประมาทหรือลหุโทษ หากได้รับโทษในคดีอาญา ต้องพ้นโทษมาแล้วอย่างน้อย ๕ ปี นับถึงวันที่ยื่นคำร้อง

                                ๑.๕ ประกอบอาชีพสุจริต ยกเว้น พระภิกษุ สามเณร และนักบวชในศาสนาอื่น ๆ

                                ๑.๖ ไม่ปรากฏหลักฐานการมีและใช้สัญชาติอื่น

 

                ๒. ประเภทบุตรของบุคคลที่อพยพเข้ามาในประเทศไทยและอาศัยอยู่เป็นเวลานาน

              กลุ่มที่ไม่มีเชื้อสายไทย

                                หลักเกณฑ์

                                ๒.๑ เป็นชนกลุ่มน้อย กลุ่ม

                                                ๑) ชาวเขา ๙ เผ่า (๖-xxxx-๗๑xxx-xx-x)

                                                ๒) บุคคลบนพื้นที่สูง/ชุมชนบนพื้นที่สูงที่อพยพเข้ามาก่อนและหลัง ๓ ตุลาคม ๒๕๒๘  (๖-xxxx-๕๐xxx-xx-x, ๖-xxxx-๗๒xxx-xx-x)

                                                ๓) อดีตทหารจีนคณะชาติ (๖-xxxx-๕๑xxx-xx-x)

                                                ๔) จีนฮ่ออพยพพลเรือน (๖-xxxx-๕๒xxx-xx-x)

                                                ๕) จีนฮ่ออิสระ (๖-xxxx-๕๓xxx-xx-x)

                                                ๖) ผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่า (๖-xxxx-๕๔xxx-xx-x)

                                                ๗) ผู้หลบหนีเข้าเมืองจากพม่า (๖-xxxx-๕๕xxx-xx-x, ๖-xxxx-๕๖xxx-xx-x)

                                                ๘) ชาวเวียดนามอพยพ (๖-xxxx-๕๗xxx-xx-x)

                                                ๙) ชาวลาวอพยพ (๖-xxxx-๕๘xxx-xx-x)

                                                ๑๐) เนปาลอพยพ (๖-xxxx-๗๓xxx-xx-x)

                                                ๑๑) อดีตโจรจีนคอมมิวนิสต์มาลายา (๖-xxxx-๖๐xxx-xx-x)

                                                ๑๒) ไทยลื้อ  (๖-xxxx-๖๑xxx-xx-x)

                                                ๑๓) ม้งถ้ำกระบอกที่ทำประโยชน์  (๖-xxxx-๖๘xxx-xx-x)

                                                ๑๔) ผู้หลบหนีเข้าเมืองชาวกัมพูชา  (๖-xxxx-๖๕xxx-xx-x)

                                ๒.๒ เกิดในประเทศไทย  มีหลักฐานการเกิด โดยมีชื่อในทะเบียนราษฎร หรือทะเบียนประวัติ

                                ๒.๓ สามารถพูดและฟังภาษาไทยเข้าใจ (ยกเว้นเด็กอายุต่ำกว่า ๗ ปี)

                                ๒.๔ มีความประพฤติดี ไม่เป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศไทย ไม่เคยได้รับโทษคดีอาญา ยกเว้นความผิดโดยประมาทหรือลหุโทษ หากได้รับโทษในคดีอาญา ต้องพ้นโทษมาแล้วอย่างน้อย ๕ ปี นับถึงวันที่ยื่นคำร้อง

                                ๒.๕ ประกอบอาชีพสุจริต ยกเว้น พระภิกษุ สามเณร และนักบวชในศาสนาอื่น ๆ

                                ๒.๖ มีความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และประเทศไทย

                                ๒.๗ ไม่ปรากฏหลักฐานการมีและใช้สัญชาติอื่น

 

                ๓. ประเภทคนไร้รากเหง้า กรณีเกิดในประเทศไทย

                                หลักเกณฑ์

                                ๓.๑ เป็นบุคคลที่ได้รับการสำรวจ จัดทำทะเบียนประวัติและเอกสารแสดงตนไว้แล้ว ภายใต้ยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล โดยได้รับการสำรวจฯ ปี ๒๕๕๐ - ๒๕๕๒ (กลุ่มบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน และกลุ่มคนไร้รากเหง้า)

                                ๓.๒ เกิดในไทย และอาศัยอยู่ในไทยอย่างน้อย ๑๐ ปี  โดยต้องมีสูติบัตรหรือหนังสือรับรองสถานที่เกิด หรือมีหนังสือรับรองความเป็นคนไร้รากเหง้าจากหน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเอกชน

                                ๓.๓ มีชื่อในทะเบียนราษฎร และเอกสารทะเบียนประวัติ

                                ๑.๔ มีความประพฤติดี ไม่เคยได้รับโทษคดีอาญา ยกเว้นความผิดโดยประมาทหรือลหุโทษ

 

                ๔. ประเภทบุคคลที่ทำคุณประโยชน์แก่ประเทศ กรณีเกิดในประเทศไทย

                                หลักเกณฑ์

                                ๔.๑ เกิดในประเทศไทย มีหลักฐานการเกิด โดยมีชื่อในทะเบียนราษฎร

                                ๔.๒ เป็นผู้ทำคุณประโยชน์ต่อประเทศ โดยมีผลงานเป็นที่ประจักษ์และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ ในสาขาต่าง ๆ ดังนี้  ๑) การศึกษา  ๒) ศิลปวัฒนธรรม  ๓) วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี       ๔) การกีฬา  ๕) สาขาที่ขาดแคลนภายใต้ความรับผิดชอบของกระทรวงที่เกี่ยวข้อง  ๖) สาขาอื่น ๆ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเห็นควร

                                ๔.๓ มีหน่วยราชการระดับกรมหรือเทียบเท่ากรมที่เกี่ยวข้องรับรองคุณประโยชน์และผลงาน

                                ๔.๔ มีความประพฤติดี ไม่เป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศไทย ไม่เคยได้รับโทษคดีอาญา ยกเว้นความผิดโดยประมาทหรือลหุโทษ หากได้รับโทษในคดีอาญา ต้องพ้นโทษมาแล้วอย่างน้อย ๕ ปี นับถึงวันที่ยื่นคำร้อง

                                ๔.๕ ประกอบอาชีพสุจริต

                                ๔.๖ มีความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และประเทศไทย

                                ๔.๗ ไม่ปรากฏหลักฐานการมีและใช้สัญชาติอื่น

 

หลักฐานที่ต้องใช้ประกอบการยื่นคำขอ ตาม พ.ร.บ. สัญชาติ มาตรา๗ ทวิ

ประเภทที่ ๑ ประเภทบุตรของบุคคลที่อพยพเข้ามาในประเทศไทยและอาศัยอยู่เป็นเวลานาน 

               กลุ่มที่มีเชื้อสายไทย ที่เกิดในประเทศไทย

ประเภทที่ ๒ ประเภทบุตรของบุคคลที่อพยพเข้ามาในประเทศไทยและอาศัยอยู่เป็นเวลานาน

               กลุ่มที่ไม่มีเชื้อสายไทย ที่เกิดในประเทศไทย

          ผู้ยื่นคำร้อง (กรณียื่นคำร้องแทน)

      () สำเนาทะเบียนบ้าน (.. ๑๓) และทะเบียนประวัติ

      () สำเนาบัตรประจำตัว

          ผู้ขอมีสัญชาติไทย

      () รูปถ่ายขนาด ๒ นิ้ว จำนวน ๓ รูป (กรณีผู้ยื่นคำร้องยังไม่บรรลุนิติภาวะใช้รูปถ่าย จำนวน ๖ รูป

           โดยให้ติดในแบบคำร้องฯ จำนวน ๓ ชุด)

      () สำเนาทะเบียนบ้าน (.. ๑๓) และทะเบียนประวัติ

      () บัตรประจำตัว (ยกเว้น กรณีอายุยังไม่ถึงเกณฑ์ทำบัตร)

      () สูติบัตร หรือหนังสือรับรองการเกิด หรือหนังสือรับรองสถานที่เกิด

      () บัตรประจำตัวของบิดา และมารดาของผู้ขอมีสัญชาติไทย

      () หนังสือหรือหลักฐานรับรองการศึกษา หากไม่มีได้สอบถามผู้ขอมีสัญชาติไทยแล้ว

           สามารถพูดภาษาไทยเข้าใจ (ยกเว้น เด็กอายุต่ำกว่า ๗ ปี)

      () กรณีเคยต้องโทษคดีอาญา (ยกเว้นความผิดโดยประมาท หรือลหุโทษ)

           มีหลักฐานดังนี้

           - สำเนาคำพิพากษาของศาล และหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด หรือหลักฐานอื่น

             ที่แสดงถึงผลของคดีและคดีถึงที่สุด หรือ

           - เอกสารแสดงการพ้นโทษ (กรณีได้รับโทษจำคุก) ซึ่งต้องพ้นโทษอย่างน้อย ๕ ปี นับถึงวันที่ยื่นคำร้อง

      () หลักฐานแสดงการประกอบอาชีพ

           - ใบอนุญาตทำงาน หนังสือรับรองจากสถานประกอบการ และหลักฐานการเสียภาษี

             (ยกเว้นกรณีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์เสียภาษี) หรือ

           - หลักฐานการรับรองการประกอบอาชีพสุจริต โดยมีบุคคลที่น่าเชื่อถือรับรอง ๒ คน หรือ

           - หลักฐานแสดงกรณีเป็นพระภิกษุ สามเณร และนักบวชในศาสนาอื่น ๆ

             (ต้องปฏิบัติกิจมาแล้วไม่น้อยกว่า ๕ ปี)

           - หลักฐานแสดงกรณียังไม่บรรลุนิติภาวะ คนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ

             และไม่ได้ประกอบอาชีพ

      () แผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือของผู้ขอมีสัญชาติไทย (ให้พิมพ์ลายนิ้วมือของผู้ขอมีสัญชาติไทย จำนวน ๔ แผ่น

           โดยจัดส่งให้กรมการปกครอง จำนวน ๒ แผ่น และเก็บไว้ที่จังหวัดและอำเภอแห่งละ ๑ แผ่น)

      (๑๐) หลักฐานอื่น ๆ (ถ้ามี)

 

ประเภทที่ ๓ บุตรของคนต่างด้าวที่เกิดในประเทศไทยและถูกบุพการีทอดทิ้งหรือไม่ปรากฏบิดา

               และมารดา(คนไร้รากเหง้า)

          ผู้ยื่นคำร้อง (กรณียื่นคำร้องแทน)

      () สำเนาทะเบียนบ้าน (.. ๑๓) และทะเบียนประวัติ

      () สำเนาบัตรประจำตัว

          ผู้ขอมีสัญชาติไทย

      () รูปถ่ายขนาด ๒ นิ้ว จำนวน ๓ รูป (กรณีผู้ยื่นคำร้องยังไม่บรรลุนิติภาวะใช้รูปถ่าย จำนวน ๖ รูป

           โดยให้ติดในแบบคำร้องฯ จำนวน ๓ ชุด)

      () สำเนาทะเบียนบ้าน (.. ๑๓) และทะเบียนประวัติ

      () บัตรประจำตัว (ยกเว้น กรณีอายุยังไม่ถึงเกณฑ์ทำบัตร)

      () หลักฐานซึ่งแสดงว่าเกิดและอาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลาอย่างน้อย ๑๐ ปีนับถึงวันที่ยื่นคำร้อง

           โดยมีหลักฐาน คือ สูติบัตร หรือหนังสือรับรองการเกิด หรือหนังสือรับรองสถานที่เกิด

           หรือหนังสือรับรองความเป็นคนไร้รากเหง้าจากหน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเอกชนที่จดทะเบียน

           ตามกฎหมายหรือขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยงานสงเคราะห์กับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง

           ของมนุษย์

      () กรณีเคยต้องโทษคดีอาญา (ยกเว้นความผิดโดยประมาท หรือลหุโทษ)

           มีหลักฐานดังนี้

           - สำเนาคำพิพากษาของศาล และหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด หรือหลักฐานอื่นที่แสดงถึงผลของคดี

             และคดีถึงที่สุด

           - เอกสารแสดงการพ้นโทษ (กรณีได้รับโทษจำคุก) ซึ่งต้องพ้นโทษอย่างน้อย๕ ปี นับถึงวันที่ยื่นคำร้อง

      () แผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือของผู้ขอมีสัญชาติไทย (ให้พิมพ์ลายนิ้วมือของผู้ขอมีสัญชาติไทย จำนวน ๔ แผ่น

           โดยจัดส่งให้กรมการปกครอง จำนวน ๒ แผ่น เก็บไว้ที่จังหวัด และอำเภอ แห่งละ ๑ แผ่น)

      () หลักฐานอื่น ๆ (ถ้ามี)

 

ประเภทที่ ๔ บุตรของคนต่างด้าวที่เกิดในประเทศไทยที่ทำคุณประโยชน์แก่ประเทศ

          ผู้ยื่นคำร้อง (กรณียื่นคำร้องแทน)

      () สำเนาทะเบียนบ้าน (.. ๑๓) และทะเบียนประวัติ

      () สำเนาบัตรประจำตัว

          ผู้ขอมีสัญชาติไทย

      () รูปถ่ายขนาด ๒ นิ้ว จำนวน ๓ รูป (กรณีผู้ยื่นคำร้องยังไม่บรรลุนิติภาวะใช้รูปถ่าย จำนวน ๖ รูป

           โดยให้ติดในแบบคำร้องฯ จำนวน ๓ ชุด)

      () สำเนาทะเบียนบ้าน (.. ๑๓) และทะเบียนประวัติ

      () สำเนาบัตรประจำตัว (ยกเว้น กรณีอายุยังไม่ถึงเกณฑ์ทำบัตร)

      () สูติบัตร หรือหนังสือรับรองการเกิด หรือหนังสือรับรองสถานที่เกิด

      () กรณีเคยต้องโทษคดีอาญา (ยกเว้นความผิดโดยประมาท หรือลหุโทษ)

           มีหลักฐานดังนี้

          - สำเนาคำพิพากษาของศาล และหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด หรือหลักฐานอื่นที่แสดงถึงผลของคดี

            และคดีถึงที่สุด

          - เอกสารแสดงการพ้นโทษ (กรณีได้รับโทษจำคุก) ซึ่งต้องพ้นโทษอย่างน้อย๕ ปี นับถึงวันที่ยื่นคำร้อง

      () หลักฐานแสดงการประกอบอาชีพ

          - ใบอนุญาตทำงาน หนังสือรับรองจากสถานประกอบการ และหลักฐานการเสียภาษี

            (ยกเว้นกรณีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์เสียภาษี) หรือ

          - หลักฐานการรับรองการประกอบอาชีพสุจริต โดยมีบุคคลที่น่าเชื่อถือรับรอง ๒ คน หรือ

      () หลักฐานแสดงว่าเป็นผู้ทำคุณประโยชน์ต่อประเทศ

      () หนังสือรับรองการทำคุณประโยชน์และผลงานจากหน่วยงานราชการระดับกรมหรือเทียบเท่ากรม

           ที่เกี่ยวข้อง

      () แผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือของผู้ขอมีสัญชาติไทย (ให้พิมพ์ลายนิ้วมือของผู้ขอมีสัญชาติไทย จำนวน ๔ แผ่น

           โดยจัดส่งให้กรมการปกครอง จำนวน ๒ แผ่น เก็บไว้ที่จังหวัด และอำเภอ แห่งละ ๑ แผ่น)

      (๑๐) หลักฐานอื่น ๆ (ถ้ามี)

 

 

แผนภาพแสดงขั้นตอนในการให้สถานะบุคคลตาม พ.ร.บ.สัญชาติ มาตรา ๗ ทวิ

 

ขั้นตอนที่ ๑ : การยื่นคำร้อง

       - ผู้ยื่นคำร้องขอสถานะตามกฎหมาย ยื่นคำร้อง และเอกสารตามที่กำหนด

       - กรอกข้อมูลในคำร้องฯ และจัดเตรียมเอกสารประกอบคำร้อง

ขั้นตอนที่ ๒ : การดำเนินการของสำนักทะเบียนอำเภอ /กิ่งอำเภอ

       - ตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้นตามมติคณะรัฐมนตรี

       - จัดพิมพ์ลายนิ้วมือเพื่อตรวจประวัติอาชญากรรม

       - ตรวจเอกสารประกอบ เช่น ทะเบียนประวัติ บัตรประจำตัว หนังสือรับรองต่างๆ

       - พิจารณาคำร้องฯ พร้อมเสนอความคิดเห็นและส่งให้จังหวัดพิจารณาต่อไป

ขั้นตอนที่ ๓ : การดำเนินการของที่ทำการปกครองจังหวัด

       - ตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้นตามมติคณะรัฐมนตรีและเอกสารประกอบต่างๆ

       - ส่งรายชื่อเพื่อขอตรวจประวัติความมั่นคง อาชญากรรมและยาเสพติดระดับจังหวัด

       - นำเสนอต่อประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาให้สัญชาติไทยและให้สถานะคนต่างด้าว

         เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายระดับจังหวัด พิจารณา

       - จัดส่งเอกสารที่ผ่านการพิจารณาพร้อมรายงานการประชุมให้กระทรวงมหาดไทย

ขั้นตอนที่ ๔ : การดำเนินการของกระทรวงมหาดไทย (กรมการปกครอง)

       - ตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้นตามมติคณะรัฐมนตรีและเอกสารประกอบต่างๆ

       - ส่งรายชื่อเพื่อขอตรวจประวัติด้านความมั่นคง อาชญากรรม และ ยาเสพติดระดับประเทศ

       - กรณีขอสถานะคนต่างด้าว:นำเสนอต่อประชุมคณะกรรมการพิจารณาให้สัญชาติไทย

         และให้สถานะคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายแก่ชนกลุ่มน้อยพิจารณา

       - กรณีขอสัญชาติไทย:นำเสนอคณะอนุกรรมการกลั่นกรองการพิจารณาให้สัญชาติไทยแก่ชนกลุ่มน้อย

         แล้วนำเสนอต่อ คณะกรรมการกลั่นกรองเกี่ยวกับสัญชาติ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นตามลำดับ

       - กรณีขอสถานะคนต่างด้าว: เสนอรายชื่อที่ผ่านการพิจารณาให้ รมว.มท.พิจารณาใช้ดุลพินิจ

         ตามกฎหมาย แล้วจึงแจ้งผลการพิจารณาสั่งการของ รมว.มท. ให้จังหวัดและสำนักงาน

         ตรวจคนเข้าเมืองทราบ เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง

         และแจ้งผู้ยื่นคำร้องทราบ

 

ต้องการพิมพ์ กดปุ่ม