ทะเบียนศาลเจ้า

Details
Parent Category: คู่มือการบริการ
Category: ทะเบียนทั่วไป

คู่มือด้านทะเบียนทั่วไป > ทะเบียนศาลเจ้า   

การจัดตั้งศาลเจ้า
    ขั้นตอนการติดต่อ
    เจ้าของศาลเจ้าเอกชนยื่นคำร้องแสดงความประสงค์จะยกศาลเจ้าพร้อมที่ดินและทรัพย์สินให้เป็นศาลเจ้าที่อยู่ในความดูแลของทางราชการ ให้ยื่นเรื่องราว ณ อำเภอ/เขตแห่งท้องที่ที่ศาลเจ้าตั้งอยู่

การอุทิศที่ดินให้เป็นสมบัติของศาลเจ้า
    ขั้นตอนการติดต่อ
        1) ผู้ยื่นเรื่องราว ณ อำเภอหรือเขตที่ศาลเจ้าตั้งอยู่        
        2) สำเนาทะเบียนบ้าน บัตรประจำตัวประชาชน
        3) รายละเอียดของที่ดินที่จะอุทิศพร้อมโฉนดแสดงกรรมสิทธิ์หรือหลักฐานสำคัญที่ดิน

การแต่งตั้งผู้จัดการปกครองศาลเจ้า ผู้ตรวจตราสอดส่องศาลเจ้า
ในเขตกรุงเทพมหานคร
    ขั้นตอนการติดต่อ
          -  ผู้ยื่นเรื่องราวดำเนินการดังนี้
                1)  ยื่นคำร้อง ณ เขตที่ศาลเจ้าตั้งอยู่
                2)  สำเนาหรือภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้ ซึ่งสามารถใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชน
                3)  ภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน
                4)  หนังสือรับรองจากนายอำเภอ ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ หรือผู้อำนวยการเขตที่แสดงว่าเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติที่ไม่ขัดต่อ ข้อ 12 แห่งกฎเสนาบดี ว่าด้วยที่กุศลสถานชนิดศาลเจ้า พ.ศ. 2463
นอกเขตกรุงเทพมหานคร
     ขั้นตอนการติดต่อ
          -  ผู้ยืนเรื่องราวดำเนินการดังนี้
                1)  ยื่นคำร้อง ณ เขตที่ศาลเจ้าตั้งอยู่
                2)  สำเนาหรือภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้ ซึ่งสามารถใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชน
                3)  ภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน
                4)  หนังสือรับรองจากนายอำเภอ ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ หรือผู้อำนวยการเขต ที่แสดงว่าเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติที่ไม่ขัดต่อข้อ 12 แห่งกฎเสนาบดี ว่าด้วยที่กุศลสถานชนิดศาลเจ้า พ.ศ.2463

ข้อ 12 แห่งกฎเสนาบดี
    ผู้ที่สมควรจะเป็นผู้จัดการปกครอง และผู้ตรวจตราสอดส่องศาลเจ้าได้นั้น ต้องประกอบพร้อม ด้วยองค์คุณสมบัติ คือ
        1) ต้องเป็นผู้มีความเคารพนับถือในลัทธินั้น
        2) ต้องเป็นคนที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปี ขึ้นไป
        3) ต้องเป็นคนมีหลักฐานในอาชีวะ หรือมีหลักทรัพย์ดี
        4) ต้องเป็นคนที่ไม่เคยต้องคำพิพากษาของศาล ฐานเป็นอั้งยี่ หรือซ่องโจรผู้ร้าย ลักทรัพย์ วิ่งราว ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ สลัด กรรโชก ฉ้อโกง ยังยอกทรัพย์ หรือรับของโจร และไม่เคยโต้เถียงกรรมสิทธิ์ที่ศาลเจ้า
        5) ต้องเป็นคนที่อยู่ใต้บังคับกฎหมายฝ่ายไทย

กฎหมายที่ให้อำนาจการอนุญาต หรือที่เกี่ยวข้อง
    1) กฎเสนาบดีว่าด้วยที่กุศลสถานชนิดศาลเจ้า พ.ศ. 2463
    2) ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเงินของศาลเจ้า พ.ศ. 2520

หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข (ถ้ามี) ในการยืนคำขอ และในการพิจารณาอนุญาต
    1. ต้องเป็นผู้มีความเคารพนับถือในลัทธินั้น
    2. ต้องเป็นคนที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปี ขึ้นไป
    3. ต้องเป็นคนที่มีหลักฐานในอาชีวะหรือมีหลักทรัพย์ดี
    4. ต้องเป็นคนที่ไม่เคยต้องคำพิพากษาของศาลฐานเป็นอั้งยี่ หรือซ่องโจร ผู้ร้ายลักทรัพย์ วิ่งราว ชิงทรัพย์ปล้นทรัพย์ กรรโชค ฉ้อโกง ยักยอกทรัพย์ หรือรับของโจร และไม่เคยโต้เถียงกรรมสิทธิ์ศาลเจ้า
    5. ต้องเป็นคนที่อยู่ใต้บังคับกฎหมายไทยฝ่ายสยาม