การบันทึกฐานะของภริยา

Details

เงื่อนไขการจดทะเบียนบันทึกฐานะของภริยา
    - บุคคลที่จะร้องขอให้บันทึกได้ต้องเป็นสามีภรรยาที่อยู่กินกันก่อนการใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 คือก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2478
    - การบันทึกนั้น จะบันทึกได้ 2 ฐานะ คือ เอกภริยาหรือภริยาหลวง (บันทึกได้คนเดียว) และอนุภริยา

เอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียนบันทึกฐานะของภริยา
    - บัตรประจำตัวประชาชน/บัตรประจำตัวอื่นที่ราชการออกให้/หรือเอกสารราชการอื่นที่สามารถใช้แสดงตัวบุคคลได้ ของผู้ร้องและพยาน
    - พยานบุคคล จำนวน 2 คน ลงลายมือชื่อรับรู้ในเรื่องการจดทะเบียนบันทึกฐานะของภริยา

ขั้นตอนการจดทะเบียนบันทึกฐานะของภริยา
    - การจดทะเบียนบันทึกฐานะของภริยา สามารถยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรสต่อนายทะเบียน ณ สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนเขต ได้ทุกแห่ง โดยไม่ต้องคำนึงถึงภูมิลำเนาของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
    - นายทะเบียนตรวจสอบคำร้อง หลักฐานแสดงตัวบุคคลของผู้ร้องทั้งสองฝ่าย
    - นายทะเบียนสามารถรับบันทึกฐานะของภริยาได้เฉพาะสามีภริยาที่มายื่นคำร้องเท่านั้น และสามารถบันทึกได้สองชั้น คือ 1) ภริยาหลวงหรือเอกภริยา ได้แก่ ภริยาที่ทำการสมรสก่อนภริยาอื่น หรือภริยาที่สามียกย่องว่าเป็นภริยาหลวง โดยบันทึกได้เพียงคนเดียว และ 2) ภริยาน้อย อนุภริยา หรือภริยาอื่นนอกจากภริยาหลวง โดยอาจบันทึกได้หลายคน
    - นายทะเบียนลงรายการในทะเบียนฐานะของภริยา (คร.20) ให้ครบถ้วน
    - ให้ผู้ร้องและพยานลงลายมือชื่อในทะเบียนฐานะของภริยา (คร.20)
    - เมื่อเห็นว่าถูกต้องให้นายทะเบียนลงลายมือชื่อในทะเบียนฐานะของภริยา (คร.20)

ค่าธรรมเนียม
    - การจดทะเบียนบันทึกฐานะของภริยา ไม่เสียค่าธรรมเนียม
    - การคัดสำเนา ฉบับละ 10 บาท

   
© by กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศการทะเบียน ส่วนบริหารและพัฒนาเทคโนโลยีการทะเบียน